ภาวะโรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกายมากแค่ไหน

338 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะโรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกายมากแค่ไหน

ภาวะโรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน           

          ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่างไรก็ตามหากเริ่มรู้สึกว่าไม่ใช่แค่การคิดมากปกติ แต่มีอาการอย่างอื่นเพิ่มเติมมาด้วย เช่น การนอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นตอนกลางคืนบ่อยแล้วหลับต่อไม่ได้ ไปจนถึงจิตใจท้อแท้ กังวลในทุกสิ่ง ไม่มีพลัง ขาดแรงบันดาลใจ นั่นอาจกำลังบ่งบอกถึงการเข้าสู่ภาวะโรคเครียด โรคซึมเศร้า และกลุ่มโรควิตกกังวลอยู่นั่นเอง

ทำความเข้าใจกับภาวะโรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล

โรคเครียด คือ อาการที่ร่างกายมีความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั่วไป จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม มักมีสาเหตุจากโดนกดดัน การกระทำผิดพลาดจนจิตใจคิดมาก

โรคซึมเศร้า คือ ภาวะของสารเซโรโทนินในสมองทำงานผิดปกติ มีการหลั่งสารตัวนี้น้อยลง ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งกระบวนการคิด อารมณ์ ความรู้สึก และการแสดงออกทางพฤติกรรม สาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยแต่ส่วนหนึ่งมักต่อยอดมาจากความเครียดที่สะสมมาเป็นเวลานาน

โรควิตกกังวล คือ ภาวะของสมองที่คิดและกังวลไปก่อนล่วงหน้าแม้ยังไม่ได้มีสิ่งใดเกิดขึ้นก่อนก็ตาม สาเหตุมาจากสารเคมีในร่างกายทำงานผิดปกติ และมักมีปัจจัยสำคัญจากความเครียดด้วยเช่นกัน

โรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

หากคุณมีปัญหาด้านสุขภาพจิตจนเริ่มรู้สึกว่าตนเองเครียด คิดมาก ไปจนถึงขั้นวิตกกังวลหรือซึมเศร้า ผลเสียที่ตามมามีเยอะมาก ทั้งการใช้ชีวิตที่ผิดไปจากเดิม ไม่อยากเข้าสังคม ไม่สามารถทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ได้ นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ทานอาหารน้อยลง บางคนอาจถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือพยายามฆ่าตัวตายเลยก็เป็นได้

สิ่งเหล่านี้ยังมักสร้างปัญหาให้กับสุขภาพ โอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โรคประจำตัวต่าง ๆ ก็มีสูง เช่น โรคเครียด ความดันสูงจนเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก สมาธิสั้น เบลอ ใจลอย มาตรฐานการทำงานตกลงจากเดิม ไปจนถึงการเกิดอุบัติเหตุ

ทุกโรคที่กล่าวมาต้องเริ่มแก้ปัญหาจากความเครียด

ไม่ว่าจะเป็นโรคเครียด โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือสาเหตุสำคัญของโรคมาจากความเครียดสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน ทั้งคนที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตาม ดังนั้นการเริ่มแก้ไขจากต้นตอจึงเป็นวิธีที่สำคัญมาก เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเริ่มรู้สึกเครียดมากกว่าปกติต้องรีบปรึกษาจิตแพทย์ รวมถึงมีการปรับพฤติกรรมบางอย่างในการชีวิตประจำวัน

เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการกระทำที่มักทำให้เกิดความเครียดสะสม ทานอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง ไปจนถึงอาจเลือกใช้อาหารเสริมที่ช่วยผ่อนคลายสมอง ลดความเครียด แต่ไม่ใช่ยานอนหลับ เช่น การมีสารสกัดของดอกคาโมมายล์ (Chamomile Flower) สารสกัดกาบา (GABA) ก็เป็นอีกแนวทางที่ตอบโจทย์ไม่น้อยเลย

ความอันตรายของโรคเครียด โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล มีผลเสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ดังนั้นใครที่ต้องอยู่ในภาวะความเครียดสะสมพยายามมองหากิจกรรม หรือตัวช่วยที่สร้างความผ่อนคลายให้กับตนเอง ป้องกันเอาไว้ก่อนดีกว่าต้องมารักษาตัวภายหลัง 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้