184 จำนวนผู้เข้าชม |
นาฬิกาชีวิตคืออะไร? มีความสำคัญมากขนาดไหน?
หลายๆคนคงทราบดีอยู่แล้วว่า การพักผ่อนนอนหลับ จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเราได้ทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และยังหลั่งฮอร์โมนสำคัญๆมากมายในตอนที่เราหลับอยู่ แต่ทว่าสำหรับบางคน
อาชีพหลายอาชีพจำเป็นที่จะต้องนอนในเวลากลางวัน และทำงานในตอนกลางคืน หรือบางคนทำงานเป็นกะ ทำให้นาฬิกาชีวิตผิดเพี้ยนไป นั่นจึงทำให้เกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ วันนี้เราจะนำทุกคนมารู้จักกับคำว่า นาฬิกาชีวิตกัน
นาฬิกาชีวิต คือ?
นาฬิกาชีวิตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม อุณหภูมิร่างกาย กระบวนการเมตาบอลิซึม การสร้างเซลล์ใหม่ ระบบภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานเวลาเดิมในรอบ 1 วัน ช่วยให้คนเรารับมือกับช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน ได้อย่างเหมาะสม เช่น
- กระเพาะอาหารหลั่งฮอร์โมนหิว (ฮอร์โมนเกอร์ลิน) ในเวลาเดิมๆ
- ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่จะทำให้เรารับมือกับความเครียดได้ดีจะหลั่งช่วง 6 โมงเช้า
- ความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นในช่วง 10 โมงเช้า
- ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดีที่สุดในช่วงบ่าย
- ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะค่อยๆ ลดระดับลง ในช่วงเวลาเย็น
- ฮอร์โมนเมลาโทนินจะถูกผลิตเพิ่มมากขึ้นในช่วงค่ำ (ฟ้าเริ่มมืด-ก่อนเที่ยงคืน) ทำให้รู้สึกง่วงนอน
- ช่วงเวลาที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงที่สุด คือ 6 โมงเย็น
- ช่วงเวลาที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำที่สุด คือราวๆ ตี 4
จะเห็นได้ว่าการนอนให้ตรงกับนาฬิกาชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะมันส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบในร่างกายเยอะมาก
และที่สำคัญก็คือควรพักผ่อนให้ตรงตามวัยของเรา เพราะในแต่ละช่วง ใช้เวลาในการพักผ่อนที่ไม่เท่ากัน เช่น
- วัยเด็ก 6-13 ปี ควรพักผ่อน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
- วัยรุ่น 14-17 ปี ควรพักผ่อน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
- วัยผู้ใหญ่ตอนต้น 18-25 ปี ควรพักผ่อน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
- วัยผู้ใหญ่ 16-64 ปี ควรพักผ่อน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
- วัยผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรพักผ่อน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
ดังนั้นการเข้านอนให้ตรงเวลา ให้นาฬิกาชีวิตของเราเป็นไปอย่างปกติเป็นเรื่องสำคัญมาก ช่วงแรก ๆอาจจะต้องค่อยๆปรับ หรือใช้ตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถเข้านอนได้ง่ายขึ้น อย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบรนด์ Mediviss Max Chamomile And Gaba Vitamin B12 Plus มีทั้งวิตามินและสารสกัดต่างๆที่ช่วยให้คุณเข้านอนได้ง่ายขึ้น พร้อมตื่นเช้าขึ้นมารับวันใหม่อย่างสดใส และเต็มแม็กซ์ได้ทุกวัน